โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยไร่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยไร่ ตำบลห้วยไร่ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ โทร 086-4603118 ,044- 810369 huyrai2@hotmail.com , num.nb@hotmail.com facebook.huyraihospital@hotmail.com







ผลงานนำเสนอสุขภาพจิตชุมชนระดับประเทศ


ด้ายผูกแขนแทนใจสำหรับผู้สูงวัยตำบลห้วยไร่อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
บุปผา  แก่นชัยภูมิ
รพสต.ห้วยไร่ อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ
บทคัดย่อ (Abstract)
                การสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุและการใช้ดัชนีบาร์เทล ADL (Barthel’s Index, Activities of daily living) ของกรมอนามัย ได้จำแนกผู้สูงอายุ เพื่อให้การช่วยเหลือส่งเสริมสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุตรงตามบริบทและความต้องการของผู้สูงอายุอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมดังนี้ กลุ่มที่๑ (ติดสังคม): เป็นกลุ่มที่ช่วยเหลือตนเองได้ ช่วยเหลือผู้อื่น สังคมและชุมชนได้ กลุ่มที่ ๒ (ติดบ้าน):  เป็นกลุ่มที่ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง และกลุ่มที่ ๓(ติดเตียง): เป็นผู้สูงอายุที่ป่วยและช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พิการ / ทุพพลภาพ ถึงแม้นว่าผู้สูงอายุจะมีปัญหาด้านสุขภาพอนามัยและมีความต้องการ  การดูแลเอาใจใส่จากครอบครัวและชุมชน  แต่ถ้าผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงและมีสุขภาพจิตดีก็จะสามารถช่วยเหลือสังคมได้อย่างมีคุณค่าการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจึงเป็นประเด็นสำคัญ การพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี
หลักขององค์การสหประชาชาติในการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้สูงอายุ ได้แก่ ๑) การมีส่วนร่วม ๒) ความมีอิสระ ๓) มีศักดิ์ศรี ๔) มีความพึงพอใจในตนเอง (ภูมิปัญญาท้องถิ่น) ๕) การดูแลสุขภาพ และการใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการในการดำเนินงานตามแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ SLM (Strategic Linkage Model) สำหรับแกนนำผู้สูงอายุตำบลห้วยไร่ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ทำให้ผู้สูงอายุได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของสังคมให้มากขึ้น เพราะนอกจากสังคมจะได้ประโยชน์แล้ว ผู้สูงอายุก็ได้มีโอกาสใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ส่งผลให้สุขภาพกายและจิตใจดี มีความคิดดี (Positive Thinking) พูดดี ทำดี (Positive Care) ผู้สูงอายุก็เหมือนกับคลังแห่งภูมิปัญญา ที่สามารถเบิกออกมาใช้ในยามที่ต้องการ มีทั้งภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตและการดูแลรักษาสุขภาพที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและสภาพของสังคม เช่น วิธีการ/อุปกรณ์ในการดูแลสุขภาพ (เช่น วิธีการรักษาโรคการแพทย์แผนไทย พิธีสู่ขวัญ) ภูมิปัญญาเหล่านี้สืบทอดจากผู้สูงอายุสู่คนรุ่นหลัง รุ่นแล้วรุ่นเล่า ส่วนหนึ่งของภูมิปัญญาเป็นเรื่องของคุณธรรมและความรู้อันว่าด้วยความดีและความงาม เช่น การผูกแขน (ผูกข้อมือ) ในพิธีสู่ขวัญ ที่เป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวอีสาน ที่ทำกันแทบทุกโอกาส ทั้งในมูลเหตุที่ดีและไม่ดี ถือว่าเป็นประเพณีเรียก ขวัญ (กำลังใจ) ให้มาอยู่กับตัว เป็นทั้งการแสดงความชื่นชมยินดี และการปลอบขวัญให้กับเจ้าของขวัญ จากคณะ ญาติมิตรและบุคคลทั่วไป กลุ่มผู้สูงอายุตำบลห้วยไร่ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ จึงได้บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้พิธีการ ผูกแขนในกลุ่มผู้สูงอายุ (Self – Health Group) เพื่อถ่ายทอดความรู้สึก ความรัก ความปรารถนาดีด้วยคำกล่าวอันไพเราะ อ่อนหวาน สุภาพ มีความหมายในทางดีงาม เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างผู้สูงอายุด้วยกันเองและการถ่ายทอดภูมิปัญญากับคนรุ่นใหม่ เป็นการดูแลและส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชนเป็นลำดับ
ด้ายผูกแขนแทนใจสำหรับผู้สูงวัยตำบลห้วยไร่

  บุปผา  แก่นชัยภูมิ
  รพสต.ห้วยไร่ อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ

ความเป็นมา
การพัฒนาทางด้านจิตใจของมนุษย์มีผลต่อมโนทัศน์เกี่ยวกับตนเอง ค่านิยมทางศีลธรรมจรรยาจะส่งผลให้ผู้สูงอายุ เกิดความมั่นคงในการดำรงชีวิต (Jung อ้างใน Ebersole and Hess, ๑๙๙๕) การช่วยเหลือส่งเสริมสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุตรงตามบริบทและความต้องการของผู้สูงอายุอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมนั้น อยู่ที่ความเข้าใจวิถีชีวิตในทางธรรมชาติของผู้สูงวัย และผู้ที่เข้าใจชีวิตผู้สูงอายุที่สุดก็คือ ผู้สูงอายุ นั่นเอง
ผู้สูงอายุเป็นปูชนียะบุคคล เป็นคลังแห่งภูมิปัญญา มีทั้งภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตและการดูแลรักษาสุขภาพที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและสภาพของสังคม สามารถช่วยเหลือสังคมได้อย่างมีคุณค่าการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจึงเป็นประเด็นสำคัญ
วัตถุประสงค์/เป้าหมายสำคัญ
                - เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขตามสมควร
                - เพื่อพัฒนางานสุขภาพจิตชุมชนให้ดีขึ้นกว่าเดิม
ตัวชี้วัดสำคัญที่บอกถึงความสำเร็จของโครงการคือ
๑) ผู้สูงอายุในชุมชนได้รับการดูแล ร้อยละ ๑๐๐ และมีการบูรการ นำการผูกแขน มาใช้ในงานสุขภาพจิตในแกนนำผู้สูงอายุ ให้ชื่อว่า ด้ายผูกแขนแทนใจสำหรับผู้สูงวัยตำบลห้วยไร่
                ๒) ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจมาก ร้อยละ ๑๐๐
                ๓) ญาติ/ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความพึงพอใจมาก ร้อยละ ๑๐๐
                ๔) ทีมสุขภาพ และแกนนำชุมชนมีความพึงพอใจมาก ร้อยละ ๑๐๐
งบประมาณที่ใช้ดำเนินโครงการ
- ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินสุขภาพผู้สูงอายุดัชนีบาร์เทล ADL (Barthel’s Index, Activities of daily living) ของกรมอนามัย ๗๓๐ ชุด จำนวน ๗๓๐ บาท
-  ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินแบบวัดความสุขของคนไทย (TMHI-๑๕- กรมสุขภาพจิต) ๗๓๐ x ๒ ใช้ประเมินก่อนและหลังดำเนินการ = ๑๔๖๐ ชุด จำนวน ๑๔๖๐ บาท
- แบบประเมินความพึงพอใจ สำหรับผู้สูงอายุ ๗๓๐ ชุด จำนวน ๗๓๐ บาท
- แบบประเมินความพึงพอใจ สำหรับทีมสุขภาพ/อสม./อบต./ผู้นำชุมชน ๒๐๐ ชุด จำนวน ๒๐๐ บาท
- ทำบุญที่วัด วัดละ ๒๐๐ บาท ทั้ง ๑๕ แห่ง จำนวน ๓,๐๐๐ บาท
- ค่าด้ายมงคล ๓๘๐ บาท
รวมค่าใช้จ่ายในโครงการถั่วเฉลี่ยกันได้ จำนวน ๖,๕๐๐ บาท (หกพันห้าร้อยบาทถ้วน)

ขั้นตอนและรายละเอียดกิจกรรมการดำเนินงาน
                โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยไร่ มีบุคลากร ๕ คน รับผิดชอบ ๑๔ หมู่บ้าน ประชากร ๖๐๓๕ คน โรงเรียน ๖ แห่ง มีวัดทั้งหมด ๑๕ แห่ง (วัดปฏิบัติธรรมแบบสติปัฎฐานสี่ ๒ แห่ง วัดปฏิบัติธรรมแบบนั่งฝึกสมาธิ ๒ แห่ง และวัดทั่วไป ๑๑ แห่ง) กลุ่มผู้สูงอายุ ๗๑๔ คน ข้อมูลผู้สูงอายุ ทั้งจากการติดตามเยี่ยมบ้านและการปฏิบัติงานในชุมชน ได้นำแบบประเมินสุขภาพผู้สูงอายุดัชนีบาร์เทล ADL (Barthel’s Index, Activities of daily living) ของกรมอนามัย มาใช้จำแนกผู้สูงอายุ เพื่อให้การช่วยเหลือส่งเสริมสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุตรงตามบริบทและความต้องการของผู้สูงอายุอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม พบว่า กลุ่มที่๑ (ติดสังคม): เป็นกลุ่มที่ช่วยเหลือตนเองได้ ช่วยเหลือผู้อื่น สังคมและชุมชนได้ มีจำนวน ๖๕๙ คน กลุ่มที่ ๒ (ติดบ้าน):  เป็นกลุ่มที่ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง มีจำนวน ๔๘ คน และกลุ่มที่ ๓(ติดเตียง): เป็นผู้สูงอายุที่ป่วยและช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พิการ/ทุพพลภาพ มีจำนวน ๗ คน
                มีชมรมผู้สูอายุ ๒ ชมรม คือ ชมรมผู้สูงอายุหลุบเพ็ก-ซับม่วงไข่ มีสมาชิกจำนวน๑๔๑ คน (ผู้สูงอายุ หมู่ที่ ๔, , , ๑๑) และชมรมผู้สูงอายุหนองไฮ มีสมาชิกจำนวน ๘๒ คน (ผู้สูงอายุ หมู่ที่๒, ๓)ในธรรมชาติ ความสูงวัยเป็นภาวะที่เกิดกับคนทุกคนและการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงวัยโดยรวมเหมือนกัน ทุกเชื้อชาติ ศาสนา เพียงแต่ระยะเวลาความช้าหรือเร็วของการเข้าสู่ ความชราแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สิ่งแวดล้อม การดูแลสุขภาพ พันธุกรรมและภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลง ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ (เกสร สำเภาทอง, ๒๕๕๑) การดูแลสุขภาพจิตในชุมชน ตำบลห้วยไร่มีความเชื่อหลากหลาย เช่น การรำผีฟ้า การเข้าทรง การเซ่นไหว้ตาปู่บ้าน (ศาลประจำหมู่บ้าน) การสู่ขวัญ การไล่บอบ การทำบุญที่วัด การรักษาแผนปัจจุบัน เป็นต้น
ในเดือน ธันวาคม ๒๕๕๓ ได้ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการ แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (Strategic Route Map: SRM) / (Strategic Linkage Model: SLM) กลไกการดำเนินงานมาวิเคราะห์และกำหนดกรอบการดำเนินงาน การกำกับ ติดตาม และประเมินผล และได้ชี้แจงกรอบแนวคิดและวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเครือข่าย ในกลุ่มผู้นำและกลุ่มแกนนำชุมชน ต่อมาได้ทบทวนและ ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการ แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (Strategic Route Map: SRM) / (Strategic Linkage Model: SLM) ในกลุ่มผู้นำ/กลุ่มแกนนำชุมชนและแกนนำผู้สูงอายุ ในด้านการดูแลสุขภาพจิตในชุมชน จึงได้ปรับกิจกรรมในโครงการดูแลสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้การช่วยเหลือส่งเสริมสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุตรงตามบริบท และความต้องการของผู้สูงอายุอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมโดยมีชมรมผู้สูงอายุ แกนนำชุมชนเป็นหลัก อาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพห้วยไร่และองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไร่เข้ามามีส่วนร่วมพร้อมให้การสนับสนุน ต่างคนต่างก็เข้ามาร่วมด้วยช่วยกันเกิดพลังความคิด นำเอาประเพณี การผูกแขนมาใช้เป็นสื่อบอกกล่าวความรู้สึก ความห่วงใย เอื้ออาทรกับผู้สูงอายุกลุ่ม ๒ และ ๓ ให้มีขวัญกำลังใจ (Empowerment) แทนของกำนัล ซึ่งเดิมนั้นเมื่อเวลาสมาชิกกลุ่มในชมรมผู้สูงอายุเจ็บป่วยทางชมรมจะมีของเยี่ยมในราคา ๒๐๐ บาท ต่อมาทางชมรมประสบกับปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายจึงมีมติงดซื้อของเยี่ยมไข้ มีเฉพาะช่วยสวดอภิธรรม ๔๐๐ บาทและค่าหรีด ๒๐๐ บาท พร้อมกับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์มอบให้กับญาติ

ผลการดำเนินงาน
ข้อมูล การประเมินสุขภาพผู้สูงอายุตำบลห้วยไร่โดยใช้ดัชนีบาร์เทล ADL (Barthel’s Index, Activities of daily living) ของกรมอนามัย ในเดือน มิถุนายน ๒๕๕๔ (ครั้งแรก ตุลาคม ๒๕๕๓)
หมู่ที่
ชื่อหมู่บ้าน
จำนวนผู้สูงอายุ
กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน (คน)
เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ
หมายเหตุ



ทั้งหมด (คน)

กลุ่มที่ ๑ ติดสังคม
กลุ่มที่ ๒ ติดบ้าน
กลุ่มที่ ๓ ติดเตียง
รวม
ตัวเลข ใน ( ) คือ < ๖๐ ปี
เติมสีฟ้า คือ


ชาย
หญิง
รวม
ชาย
หญิง
ชาย
หญิง
ชาย
หญิง

ชาย
หญิง
รวม
รวม
ชมรมหลุบเพ็กฯ
ห้วยไร่
๒๕
๒๓
๔๘
๒๓
๒๓
๔๘




รวม ๑๔๑ คน
หนองไฮ
๔๖
๕๐
๙๖
๔๐
๕๐
๙๖
๓๘
๔๔

๘๒
ชาย ๕๗ หญิง ๘๔
โคกสง่า
๓๖
๒๙
๖๕
๓๕
๒๔
๖๕




๖๐ ปี =๑๑๑ คน
หลุบเพ็ก
๒๒
๒๙
๕๑
๒๐
๒๕
๕๑
๑๗ ()
๒๙ ()
๔๖ ()
๕๔
ชาย ๔๙ หญิง ๖๒
โสกมูลนาค
๕๙
๖๙
๑๒๘
๕๗
๖๔
๑๒๘




< ๖๐ ปี =๓๐ คน
โคกไม้งาม
๒๒
๑๕
๓๗
๒๐
๑๓
๓๗
๑๔ ()
๑๐ ()
๒๐ ()
๓๒
ชาย ๕๗ หญิง ๘๔
ห้วยยาง
๓๔
๔๑
๗๕
๓๓
๓๘
๗๕





ดงเย็น
๑๙
๒๑
๔๐
๑๗
๑๗
๔๐




ชมรมหนองไฮฯ
ซับม่วงไข่
๑๒
๑๖
๒๘
๑๒
๑๑
๒๘
๑๓ ()
๑๕ ()
๒๘ (๑๓)
๔๑
รวม  ๘๒  คน
๑๐
ซับทอง
๑๑
๑๘
๑๑
๑๘




ชาย ๓๘ หญิง ๔๔
๑๑
ประชาแสนสุข
๑๐
๑๘
๑๐
๑๘
   ()
    ()
๑๓ ()
๑๔

๑๒
ห้วยยาง
๒๙
๒๘
๕๗
๒๖
๒๕
๕๗




มีทั้งหมด ๒ ชมรม
๑๓
ซับผักกูด
๑๔
๒๒
๓๖
๑๔
๒๐
๓๖





๑๔
ซับสมบูรณ์
๑๐
๑๗
๑๐
๑๗





รวม
๓๔๐
๓๗๔
๗๑๔
๓๑๖
๓๔๑
๒๒
๒๖
๗๑๔






ประเมินความสุข TMHI-๑๕- กรมสุขภาพจิต ๗๑๔ คน
ก่อนดำเนินการ
หลังดำเนินการ
คะแนน ๓๓-๔๕ คะแนน หมายถึง มีความสุขมากกว่าคนทั่วไป (Good)
๓๔ คน ร้อยละ ๔.๗๖

๔๔ คน ร้อยละ ๖.๑๖

คะแนน ๒๗-๓๒ คะแนน หมายถึง มีความสุขเท่ากับคนทั่วไป (Fair)
๓๖๖ คน ร้อยละ ๕๑.๒๖

๖๖๖ คน ร้อยละ ๙๓.๒๗
คะแนน ๒๖ คะแนนหรือน้อยกว่า หมายถึง มีความสุขน้อยกว่าคนทั่วไป (Poor)
๓๑๔ คน ร้อยละ ๔๓.๙๗

๔ คน ร้อยละ ๐.๕๖

ปัญหา/อุปสรรคโดยสรุป
มีปัญหาในภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในการตอบแบบสอบถามต้องใช้เวลามากพอสมควรและผู้สัมภาษณ์ต้องมีทักษะในการสัมภาษณ์ และผู้สูงอายุที่มีความพิการเป็นใบ้ ป่วยทางจิตต้องใช้การประเมินจากญาติ
จำนวนของผู้ได้รับการคัดกรองโรคซึมเศร้า
ทั้งหมด ๗๑๔ คน
ก่อนดำเนินการ(คน)
หลังดำเนินการ(คน)
. ปกติ (๒Q-ve)
๕๗๖ คน ร้อยละ ๘๐.๖๗
คน ร้อยละ ๑๐๐
. มีแนวโน้มป่วยเป็นโรคซึมเศร้า (๒Q+ve)
๑๓๘ คน ร้อยละ ๑๙.๓๒
๘๘ คน ร้อยละ ๑๒.๓๒
ปัญหา/อุปสรรคโดยสรุป
- การใช้แบบสอบถามผู้สัมภาษณ์ต้องมีความเข้าใจและได้รับการฝึกการใช้
- ประเมินไม่ได้ ๔ คน เนื่องจากป่วยทางจิต
จำนวนของผู้ได้รับการประเมินโรคซึมเศร้าด้วย ๙Q ทั้งหมด ๑๓๘ คน
ก่อนดำเนินการ(คน)
หลังดำเนินการ(คน)
. ปกติ (๙Q < ๗)
๘๘ คน ร้อยละ ๖๓.๗๖
๑๓๔ คน ร้อยละ ๙๗.๑๐
. ระดับอาการน้อย (๙Q = -๑๒)
๔๗ คน ร้อยละ ๓๔.๐๕
    ๔ คน ร้อยละ   .๘๙
. ระดับอาการปานกลาง (๙Q = ๑๓ -๑๘)
  ๔ คน ร้อยละ   .๘๙

. ระดับอาการรุนแรง (๙Q ๑๙)


ปัญหา/อุปสรรคโดยสรุป เมื่อส่งตัวเพื่อคัดกรองซ้ำผู้ป่วยและญาติจะปฏิเสธจึงต้องใช้วิธีการติดตามใกล้ชิด

การประเมินการฆ่าตัวตายด้วย ๘Q ทั้งหมด ๕๑ คน
ก่อนดำเนินการ(คน)
หลังดำเนินการ(คน)
๑ ไม่มีแนวโน้มฆ่าตัวตายในปัจจุบัน (๘Q = ๐)
๔๙ คน ร้อยละ ๙๖.๐๗
๕๑ คน ร้อยละ ๑๐๐
๒ แนวโน้มฆ่าตัวตายระดับน้อย (๘Q = -๘)
   ๒ คน ร้อยละ   .๙๒

๓ แนวโน้มฆ่าตัวตายระดับปานกลาง (๘Q = -๑๖)


๔ แนวโน้มฆ่าตัวตายระดับรุนแรง (๘Q ๑๗)


สรุปผลจากการดำเนินงาน

- เป็นไปตามเป้าหมายสำคัญที่วางไว้ ดังต่อไปนี้
                ๑) ผู้สูงอายุในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขตามสมควร
 มีความสุขมากกว่าคนทั่วไป (Good) ๔๔ คน ร้อยละ ๖.๑๖ เพิ่มขึ้นร้อยละ๑.
 มีความสุขเท่ากับคนทั่วไป (Fair) ๖๖๖คน ร้อยละ๙๓.๒๗ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๒.๐๑
                                 มีความสุขน้อยกว่าคนทั่วไป (Poor) คงเหลือ ๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๕๖
                                ๒) พัฒนางานสุขภาพจิตชุมชน โดยมีนวัตกรรมสำหรับการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุโดยบูรการ นำการผูกแขน มาใช้ให้ชื่อว่า ด้ายผูกแขนแทนใจสำหรับผู้สูงวัยตำบลห้วยไร่

- ปัจจัยที่ช่วยให้โครงการนี้ดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์
                ๑) การมีส่วนร่วม (แกนนำผู้สูงอายุเป็นหลัก แกนนำชุมชน ผู้นำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและองค์การบริหารส่วยตำบลห้วยไร่ให้การสนับสนุน)
                ๒) ความเป็นอิสระ (ผู้สูงอายุทำด้วยความเต็มใจ มีจิตเป็นกุศล)
                ๓) มีศักดิ์ศรี (ผู้สูงอายุเป็นที่เคารพรักของลูกหลาน)
          ๔) มีความพึงพอใจในตนเอง (มีความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น)
          ๕) การดูแล (โดยผู้สูงอายุ เพื่อผู้สูงอายุ มีชมรมผู้สูงอายุที่เป็นของผู้สูงอายุ ในภาคประชาชน ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยไร่และได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไร่)

- การดำเนินโครงการนี้จะทำต่อไป เพราะเป็นบทบาทและกิจกรรมหนึ่งของผู้สูงอายุที่เกิดประโยชน์ซึ่งกันและกันทั้งผู้ให้และผู้รับ ไม่มีความยุ่งยากในขั้นตอน ไม่ได้ใช้เงินหรืองบประมาณมากมาย ใช้ความรู้สึกตัวตามความเป็นจริง ใช้ใจ ใช้การฝึกสติ ใช้ความเข้าใจในตนเอง ที่สำคัญสามารถกระทำได้ในทุกๆสถานที่ 

- หากหน่วยงานอื่นจะนำไปปฏิบัติ..  มีปัญหาอุปสรรคสำคัญที่ควรคำนึงถึง
                                การใช้สื่อทางด้านจิตใจ (Positive Psychology) การนำไปใช้ล่อแหลมต่อความเชื่อ ความงมงายทางไสยศาสตร์ ให้ระมัดระวังเรื่องความเชื่อที่ทำให้เข้าใจผิดไปจากความเป็นจริง ประเด็นหลักของการทำกิจกรรมของ ด้ายผูกแขนแทนใจสำหรับผู้สูงวัยให้ความสำคัญที่ ความรู้สึกตัวของผู้สูงอายุ ทั้งผู้ที่ผูกและผู้ให้ผูกแขน (การผูกข้อมือ) ต่างก็ต้องเตรียมใจตนเอง ได้ทบทวนความรู้สึกนึกคิด และฝึกพูดในสิ่งที่เป็นมงคล คล้ายกันเป็นกลยุทธ์ให้ผู้สูงอายุได้มองโลกในแง่ดี คนที่คิดดี จิตใจสะอาด มองโลกในแง่ดี สิ่งที่เอ่ยเอื้อนออกมาจากปากก็จะมีแต่สิ่งดีๆ ส่งผ่านเข้าทางการได้ยิน ส่งผ่านทางการมองเห็น ส่งผ่านด้วยการสัมผัสที่ข้อมือในการถ่ายทอดความรู้สึกโดยมีด้ายเป็นสื่อ


โครงการนี้จะพัฒนาต่ออีกดังนี้
                      จะนำไปปรับใช้ในการดูแลสุขภาพจิต สำหรับกลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Long Term Care) และการดูแลกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ปัญหาซับซ้อนในชุมชน แบบประคับประคอง (Palliative Care) โดยแกนนำผู้สูงอายุที่เป็นที่เคารพรักของลูกหลานในแต่ละชุมชน มุ่งเน้นการบอกความรู้สึกที่ดีๆ การคิดในเชิงบวก การฝึกสติ การสะท้อนคิด เพื่อให้เกิดกำลังใจ พลังใจ ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองในปัจจุบันตามความเป็นจริง

นางบุปผา  แก่นชัยภูมิ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยไร่ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
โทรศัพท์ ๐๔๔-๘๑๐๓๖๙, ๐๘๑-๘๒๗๑๒๗๓ E-mail: buppha_ka@hotmail.com




คำกล่าวผูกแขน
แปลความตาม คำกล่าวผูกแขน
Word to add Empowerment

ศรี ศรี ชัยยะวิเศษ 
ฝ้ายแก้วเกศเมืองสวรรค์
บัดนี้ข้อยจักผูกแขนซ้ายให้เจ้าได้หมื่นนา  
ผูกแขนเบื้องขวา ให้เจ้าได้กินหมื่นบ้าน   
ก้อนคำล้านให้เจ้าค่อยอยู่ดี มาเยอขวัญเอย   
เจ้าอย่าได้ไปอยู่ในดินแกมกอหญ้า
เจ้าอย่าไปอยู่ฟากฟ้ายอดขนิษฐา  
ให้เข้ามาอยู่เฮียน ดอมเจ้า ฮ้อยขวบเข่าอย่าได้หนี 
ให้นอนหลับดีอยู่ในห้องสมบัติ มีมวลมาก  
มีหลายหลากแก้วสังวาล สภาพ อลังการปิ่นเกล้า  
ให้เจ้าได้อยู่สร้างแกนเมือง
โทษฮ้ายอย่ามาพาล  มารฮ้ายอย่าบังเบียด 
อายุมั่นขวัญยืน
จัตตาโร อายุ วรรณโณ สุขขัง พลัง เทอญ


                                   
คุณพ่อคำผอง  ช่างลาย
ประธานชมรมผู้สูงอายุหลุบเพ็ก-ซับม่วงไข่ ตำบลห้วยไร่ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

ศรี ศรี ชัยยะวิเศษ 
เส้นฝ้ายบริสุทธิ์จากสวรรค์เบื้องบน
บัดนี้ ข้าพเจ้าจักใช้ผูกขวัญข้างซ้าย ให้ได้นาเป็นหมื่น
ผูกแขนขวา ให้เจ้า มีสิ่งของบริโภคอุปโภคมากหลาย
ให้มีเงินมีทอง อยู่ดีกินดี มีสุข ขวัญกำลังให้กลับมาเถิดนะคนดี
ขวัญกำลังใจเจ้าอย่าได้ไปอยู่ในดิน แกมกอหญ้าเลย
อย่าไปอยู่ฟากฟ้าแดนไกล ยอดเขาสุดกู่
ให้เจ้ากลับมาอยู่กับเย้าเฝ้าเรือนของเจ้าไว้ เป็นร้อยปีอย่าหนี
ให้นอนหลับฝันดีอยู่ที่ห้องของตนเอง มีสมบัติมากมาย
มีหลากหลายแก้วแหวน สร้อยสังวาล มีพลังยิ่งใหญ่อลังการ
ให้เจ้าได้อยู่ เป็นผู้นำให้เข้มแข็ง
ภัยอันตรายทั้งหลายอย่าได้มาแพ้วพาล
อายุมั่นขวัญยืน 

อันประกอบด้วย พรสี่ประการ อายุ วรรณะ สุขะ พละ เทอญ

นางบุปผา  แก่นชัยภูมิ
พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต (การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช)
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยไร่ อำเภอคอนสวรรค์จังหวัดชัยภูมิ      ผู้แปล
Cotton Line pure and powerful….
Now I affix Cotton line to your left arm for mindfulness to have rich land.  And right arm for you to have abundant food.
Be very rich in character as man or woman.  Stay in Empowerment.
Remain centered. Do not stray into the unreal.  Be true to the Truth, here and now.
Do not let mind wander.  Stay at home in consciousness.  Be happy sleeping at home. Be very rich.  Have gold coin, neck gold, and diamonds.   Be physically strong and healthy.  Have a strong and stable personal psychology and social conscience of taking care, practicing loving kindness and compassion.  Practice discernment, do not
Receive all that comes your way.  Be happy, be well, and age slowly, for a long time. 


Mrs. Buppha Kaenchaiyaphum, M.N.S. 
Mr. William Alan Comer, BSc, CN